Wednesday, July 27, 2005
เรื่องสั้นของผม...ลงหนังสือ
ในที่สุด...ก้าวแรกแห่งการเป็นนักเขียนของผมก็มาถึง
ปลายปีที่แล้วผมได้ส่งเรื่องสั้นของตัวเองเข้าร่วมประกวดในโครงการนายอินทร์อวอร์ด...
สองเดือนก่อนคณะกรรมการแจ้งว่าเรื่องของผมเข้ารอบ และจะได้รับการตีพิมพ์อย่างแน่นอน
บัดนี้...มันออกมาแล้ว
เรื่องที่ชนะคือ "บุหลันแรม"
โดยผู้เขียนคือ "เงาจันทร์"
ส่วนเรื่องของผมอยู่ในรูปทางขวา...ที่ไฮไลท์ไว้
Inevitable Instinct เขาและเธอ
...มันอาจจะไม่ใช่ผลงานที่ดีนัก กว่าครึ่งของงานกรุ่นกลิ่นบทรัก และผมอาจจะไม่ชนะเลิศ...
...แต่ประตูสู่การเป็นนักเขียนของผมเปิดออกแล้ว...
อาจจะฟังแปลกๆ...แต่ผมดีใจกับตัวเองจริงๆครับ
จากจุดเริ่มนี้...วันหนึ่งผมจะพิสูจน์ให้ทุกคนได้รู้ว่าไม่ได้มีแต่ปริญญาที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จ
ตอนนี้ก็ขอตัวไปอ่านเรื่องสั้นของผู้เข้ารอบท่านอื่นๆก่อนครับ
ตอนนี้ก็ขอตัวไปอ่านเรื่องสั้นของผู้เข้ารอบท่านอื่นๆก่อนครับ
Sunday, July 24, 2005
โศกนาฏกรรมเมื่อปลายตีสอง
ผมเชื่ออยู่เสมอว่า..
"มนุษย์มักจะเย็นชากับสิ่งที่เป็นปรกติ เย็นชาอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งมันทนไม่ไหวและหนีจากไป"บัดนั้นแหละจึงรู้สึก...
ผมกำลังซาบซึ้งกับคำพูดของตัวเอง สามนาทีก่อน อยู่ดีๆคอมพิวเตอร์ของผมก็รีสตาร์ทตัวเอง ระหว่างรอเครื่องบูธและดิสก์เช็คกิ้ง ผมตัดสินใจลงไปข้างล่างเพื่อดับกระหายด้วยเป๊ปซี่ที่ซื้อมาเมื่อตอนหัวค่ำ
สะดุด...ผมสะดุด
พอหันไปมองสิ่งที่สะดุด ผมมองเห็นสายไฟพัดลม แรงสะเทือนจากการสะดุดรุนแรงพอจะทำให้ผมต้องรีบหันไปมองพัดลมคู่ชีพทันที
โอ้แม่เจ้า!! ล้ม!! มันกำลังล้ม!!
มันล้มหน้าคะมำลงมาจากเก้าอี้ที่ผมตั้งมันไว้ หน้ากระแทกพื้น ตะแกรงครอบหลุดกระเด็น
อะไรบางอย่างพุ่งมาหยุดอยู่ตรงปลายตีนผม...
แหม...ยังกะในหนัง หยุดซะปลายตีนพอดิบพอดี ผมก้มลงมอง...โอ้แม่เจ้า!! ใบพัด!! มันคือเศษใบพัด!!
ผมรีบหันไปมองพัดลมที่ตอนนี้กลายเป็นพัดล้มไปแล้ว...
จะด้วยความเจ็บปวดจากการหน้ากระแทกพื้นจนแหกหรือด้วยแรงใบพัดที่ยังหมุนติ้วก็ตาม พัดลม(ล้ม)คู่ชีพของผมนอนก้มหน้าดิ้นพราดๆอยู่บนพื้น
ผมตัดสินใจยุติความทรมานของมันด้วยการดึงปลั๊กออกทันที...
หลังจากทุกอย่างสิ้นสุดลง ผมก้าวเท้าเดินไปหามัน หยิบมันขึ้นมาตั้งอีกครั้ง
อนิจจา...ใบพัดหนึ่งในสามใบมีรอยแหว่งเสียแล้ว
หลังจากโมงยามแห่งความอึ้ง ผมตรวจตราความแน่นของหมุดยึดใบ มันยังแน่นดี ผมหยิบฝาตะแกรงขึ้นมาครอบ ประกอบจนเข้าที่ เดินไปเสียบปลั๊กแล้วลองเปิดมันดูใบพัดเริ่มหมุน...ผมยิ้ม
พัดลมเริ่มเต้น...ผมยิ้มไม่ออก
รอยแหว่งสองรอยบนใบพัดใบหนึ่งได้ทำลายสมดุลการหมุนของใบพัดทั้งหมดไปแล้ว...
ตอนนี้ไม่มีมันแล้วผมถึงได้รู้ว่าในยามค่ำคืนแบบนี้ห้องผมร้อนแค่ไหน...
บัดนี้ ผมเอามันไปตั้งไว้ที่มุมห้อง มันนั่งก้มหน้าอยู่ตรงนั้น แลดูเศร้าสร้อย แต่ก็แอบไม่แน่ใจว่ามันหรือผมกันแน่ที่เศร้า?
สิ่งที่ยังค้างคาในใจก็คือ "ที่ไหนมีใบพัดพัดลมขายบ้างฟะ!!... "
Wednesday, July 20, 2005
ไม่มีอะไร
ผมชอบรูปนี้มากๆอะ...มันบ่งบอกความเป็นตัวเองดี
หัวกลมดูดบุหรี่...
ว่าแต่ว่า...ในเมื่อบุหรี่มันไม่ดี รัฐก็ออกมารณรงค์ต่อต้าน
แต่ทำไมรัฐก็ยังปล่อยให้มีการขายบุหรี่อีกนะ?
ถามขำๆ...ใครๆก็คงรู้คำตอบดี
เกลียดตัวกินไข่...เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง
เกลียดรัฐ...กินน้ำตา
Saturday, July 16, 2005
"Principal-Agent Problem" กับ "บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)"
ไม่ได้อัพบล็อกมานาน วันนี้เกิดคันๆเลยขุดความรู้กระผีกหางอึ่งของ “นักศึกษาเศรษฐศาสตร์ เอกรีไทร์” ของตัวเองมาละเลงเสียหน่อย เช่นนั้นแล้ว...ผิดถูกประการใดสับกันได้ตามอัธยาศัยเลยครับ
“Principal-Agent Problem” กับ “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)”
นายจาบัลย์กำลังนั่งครุ่นคิด...และที่เขากำลังคิดก็คือ
“นักการเมืองเป็นอาชีพที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าใบปริญญานั้นไม่ได้มีค่าความหมายมากเกินไปกว่ากระดาษใบเดียว...”
ไม่ว่าจะมีการกำหนดวุฒิการศึกษาขั้นต่ำของผู้ที่จะก้าวเข้ามาเป็นนักการเมืองหรือไม่ ภาพลักษณ์ของนักการเมืองในสายตาของจาบัลย์และอีกหลายๆคนรอบข้างจาบัลย์ก็ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กลับกัน นับวันมันยิ่งรังแต่จะแย่ลง คงไม่เป็นการสบประมาทเลยหากจะบอกว่า “นักการเมืองปริญญา” นั้นเป็นพวกที่มีแต่ “วิชา” โดยปราศจาก “ความรู้” หรือถึงมี “ความรู้” ก็ยังคงขาดแคลนหรือถึงขั้นไร้แล้วซึ่ง “ความเข้าใจ”
จาบัลย์เชื่อว่าความคิดของเขาไม่ใช่การสบประมาทหรือดูหมิ่นแต่อย่างไร สิ่งหนึ่งที่นักการเมืองทั้งหลายควรจะได้สำนึกสำเหนียกยามได้รับรู้ถึงความคิดของเขาก็คือ
มันเป็นภาพฉายอันเป็นผลจากพฤติกรรมทั้งปวงที่สัตว์การเมืองทั้งหลายในบ้านเมืองแสดงออกมา...
มันเป็นสิ่งที่ทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “Principal-Agent Problem” คือ “ปัญหาอันเกิดจากจุดมุ่งหมายในการทำงานที่ต่างกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง” จุดมุ่งหมายของนายจ้างคือ “ผลประโยชน์” ของบริษัทอันหมายถึงผลกำไรและความเจริญเติบโตใดๆก็ตามที่บริษัทพึงมี ส่วนจุดประสงค์ของลูกจ้างนั้นคือ “ผลประโยชน์ของตัวเอง” อันคงมิใช่อะไรนอกไปเสียจาก “เงินเดือน” หรือ “ผลประโยชน์อันไม่อยู่ในรูปตัวเงิน” ต่างๆ อาทิเช่น ความสบายใจในการทำงานอันเกิดจากการอู้งานในขณะที่ยังได้รับเงินเดือนเท่าเดิม หรืออาจจะเป็นผลประโยชน์นอกลู่ใดๆอันอาจหามาได้จากการซิกแซ็กในการทำงาน
หากสมมติว่ามีบริษัทหนึ่งอันนามว่า “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)” ซึ่งมี “นายประชาชน คนสยาม” (ซึ่งต่อไปนี้อาจจะเรียกว่า “นายจ้าง” หรือ “เจ้าของบริษัท” เป็นบางที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลื่นไหลของรูปประโยค) เป็นเจ้าของบริษัท “นายประชาชน คนสยาม” ได้ตกลงว่าจ้าง(เลือก,แต่งตั้ง) “นายนักการเมือง และผองเพื่อน” (ซึ่งต่อไปนี้อาจจะเรียกว่า “ลูกจ้าง” เป็นบางที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลื่นไหลของรูปประโยค) ให้ทำงานให้ “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)” โดยตกลง(จำใจ)จะจ่ายค่าจ้าง(ภาษี)ให้เป็นรายเดือน ซึ่งแน่นอนว่าความต้องการของ “นายประชาชน คนสยาม” ย่อมต้องหมายถึงผลประโยชน์ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของ “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)” ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ตัวเจ้าของบริษัท(นายประชาชน คนสยาม)ย่อมต้องการให้เป็นความต้องการของลูกจ้าง(นายนักการเมือง และผองเพื่อน)ด้วย
และต่อมา “นายนักการเมือง และผองเพื่อน” ได้สถาปนา “นายกอ รอมอตอ” หรือเรียกกันอีกชื่อว่า “นายว่า ขี้ข้าพลอย” ขึ้นเป็นผู้บริหารและมีอำนาจเหนือตนโดยมีการลงนามยอมรับจากอำนาจที่สูงกว่าตัวนายจ้าง ซึ่งตรงจุดนี้นั้นทั้งนายจ้างและอำนาจที่เหนือกว่ามิอาจทัดทานได้ ทั้งนี้เป็นไปเพื่อความสงบเรียบร้อยภายในอันจะส่งผลถึงเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท โดยกฎระเบียบของบริษัทแล้ว “นายกอ รอมอตอ” จะเป็นดั่งผู้มีอำนาจบริหารสูงสุดของบริษัท มีหน้าที่ในการดำเนินนโยบายบริหารต่างๆเพื่อสร้างความก้าวหน้าและผลประโยชน์อันยั่งยืนให้แก่บริษัทอันหมายถึงว่านั่นคือผลประโยชน์ของตัวเจ้าของบริษัทด้วย
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ “นายกอ รอมอตอ” กลับเลือกจะบริหารบริษัทเพียงเพื่อสนองความกระหายในผลประโยชน์ส่วนตนของตัวเอง นโยบายบริหารต่างๆล้วนถูกผลักดันออกมาใช้เพื่อสร้างช่องทางหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง กับทั้งยังมีการเผื่อแผ่โอกาสเอื้อเหล่านั้นไปยัง “นายนักการเมือง และผองเพื่อน” ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นไปเพื่อสร้างบุญคุณและรักษาอำนาจการปกครองของตน และสุดท้าย “นายกอ รอมอตอ” ก็กลับกลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดโดยใช้ฐานอำนาจที่เหนือกว่ายึด “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)” ไปเป็นของตน และฮุบเงินภาษี...เงินเดือนทั้งหมดไปบริหารเองแทน “นายประชาชน คนสยาม”
ซึ่งการยึดบริษัทนี้จะสามารถเป็นไปได้ง่ายขึ้นหาก “นายกอ รอมอตอ” เป็นผู้ร่ำรวยทรัพย์สินล้นฟ้า เพราะ “นายกอ รอมอตอ” อาจใช้กลยุทธ์ควักกระเป๋าตัวเองจ่ายเงินเดือนเพิ่มให้ “นายนักการเมือง และผองเพื่อน” อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนเพิ่มจากเงินเดือนประจำที่ได้รับจาก “นายประชาชน คนสยาม” ซึ่งการซื้อคนด้วยเงินมหาศาลนั้นง่ายดายกว่าการซื้อคนด้วยใจนัก ด้วยยุทธวิธีดังกล่าวแล้วก็ไม่ยากนักที่ “นายกอ รอมอตอ” จะสามารถขึ้นมาเป็นใหญ่และกุม “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)” ไว้ในกำมือได้ สุดท้าย “นายประชาชน คนสยาม” ก็ได้แต่คร่ำครวญในใจ…
“กูจ่ายภาษีจ้างโจรมาปล้นและยึดบริษัท”
พูดง่ายๆก็คือ มันมีความแตกต่างดังยกตัวอย่างไปแล้วอยู่ระหว่าง “จุดประสงค์ของเจ้าของประเทศ” คือ “ประชาชน” กับ “กลุ่มผู้บริหาร” ซึ่งก็คือ “สัตว์การเมือง” นั่นเอง...
พอแล้วดีกว่า...วัยรุ่นเซ็ง
ปล.ดังกล่าวไปแล้ว ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ของผมมันเพียงกระผีกหางอึ่ง ผิดถูกประการใดโปรดให้อภัยก่อนสับแหลก...
“Principal-Agent Problem” กับ “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)”
นายจาบัลย์กำลังนั่งครุ่นคิด...และที่เขากำลังคิดก็คือ
“นักการเมืองเป็นอาชีพที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าใบปริญญานั้นไม่ได้มีค่าความหมายมากเกินไปกว่ากระดาษใบเดียว...”
ไม่ว่าจะมีการกำหนดวุฒิการศึกษาขั้นต่ำของผู้ที่จะก้าวเข้ามาเป็นนักการเมืองหรือไม่ ภาพลักษณ์ของนักการเมืองในสายตาของจาบัลย์และอีกหลายๆคนรอบข้างจาบัลย์ก็ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กลับกัน นับวันมันยิ่งรังแต่จะแย่ลง คงไม่เป็นการสบประมาทเลยหากจะบอกว่า “นักการเมืองปริญญา” นั้นเป็นพวกที่มีแต่ “วิชา” โดยปราศจาก “ความรู้” หรือถึงมี “ความรู้” ก็ยังคงขาดแคลนหรือถึงขั้นไร้แล้วซึ่ง “ความเข้าใจ”
จาบัลย์เชื่อว่าความคิดของเขาไม่ใช่การสบประมาทหรือดูหมิ่นแต่อย่างไร สิ่งหนึ่งที่นักการเมืองทั้งหลายควรจะได้สำนึกสำเหนียกยามได้รับรู้ถึงความคิดของเขาก็คือ
มันเป็นภาพฉายอันเป็นผลจากพฤติกรรมทั้งปวงที่สัตว์การเมืองทั้งหลายในบ้านเมืองแสดงออกมา...
มันเป็นสิ่งที่ทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “Principal-Agent Problem” คือ “ปัญหาอันเกิดจากจุดมุ่งหมายในการทำงานที่ต่างกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง” จุดมุ่งหมายของนายจ้างคือ “ผลประโยชน์” ของบริษัทอันหมายถึงผลกำไรและความเจริญเติบโตใดๆก็ตามที่บริษัทพึงมี ส่วนจุดประสงค์ของลูกจ้างนั้นคือ “ผลประโยชน์ของตัวเอง” อันคงมิใช่อะไรนอกไปเสียจาก “เงินเดือน” หรือ “ผลประโยชน์อันไม่อยู่ในรูปตัวเงิน” ต่างๆ อาทิเช่น ความสบายใจในการทำงานอันเกิดจากการอู้งานในขณะที่ยังได้รับเงินเดือนเท่าเดิม หรืออาจจะเป็นผลประโยชน์นอกลู่ใดๆอันอาจหามาได้จากการซิกแซ็กในการทำงาน
หากสมมติว่ามีบริษัทหนึ่งอันนามว่า “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)” ซึ่งมี “นายประชาชน คนสยาม” (ซึ่งต่อไปนี้อาจจะเรียกว่า “นายจ้าง” หรือ “เจ้าของบริษัท” เป็นบางที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลื่นไหลของรูปประโยค) เป็นเจ้าของบริษัท “นายประชาชน คนสยาม” ได้ตกลงว่าจ้าง(เลือก,แต่งตั้ง) “นายนักการเมือง และผองเพื่อน” (ซึ่งต่อไปนี้อาจจะเรียกว่า “ลูกจ้าง” เป็นบางที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลื่นไหลของรูปประโยค) ให้ทำงานให้ “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)” โดยตกลง(จำใจ)จะจ่ายค่าจ้าง(ภาษี)ให้เป็นรายเดือน ซึ่งแน่นอนว่าความต้องการของ “นายประชาชน คนสยาม” ย่อมต้องหมายถึงผลประโยชน์ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของ “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)” ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ตัวเจ้าของบริษัท(นายประชาชน คนสยาม)ย่อมต้องการให้เป็นความต้องการของลูกจ้าง(นายนักการเมือง และผองเพื่อน)ด้วย
และต่อมา “นายนักการเมือง และผองเพื่อน” ได้สถาปนา “นายกอ รอมอตอ” หรือเรียกกันอีกชื่อว่า “นายว่า ขี้ข้าพลอย” ขึ้นเป็นผู้บริหารและมีอำนาจเหนือตนโดยมีการลงนามยอมรับจากอำนาจที่สูงกว่าตัวนายจ้าง ซึ่งตรงจุดนี้นั้นทั้งนายจ้างและอำนาจที่เหนือกว่ามิอาจทัดทานได้ ทั้งนี้เป็นไปเพื่อความสงบเรียบร้อยภายในอันจะส่งผลถึงเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท โดยกฎระเบียบของบริษัทแล้ว “นายกอ รอมอตอ” จะเป็นดั่งผู้มีอำนาจบริหารสูงสุดของบริษัท มีหน้าที่ในการดำเนินนโยบายบริหารต่างๆเพื่อสร้างความก้าวหน้าและผลประโยชน์อันยั่งยืนให้แก่บริษัทอันหมายถึงว่านั่นคือผลประโยชน์ของตัวเจ้าของบริษัทด้วย
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ “นายกอ รอมอตอ” กลับเลือกจะบริหารบริษัทเพียงเพื่อสนองความกระหายในผลประโยชน์ส่วนตนของตัวเอง นโยบายบริหารต่างๆล้วนถูกผลักดันออกมาใช้เพื่อสร้างช่องทางหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง กับทั้งยังมีการเผื่อแผ่โอกาสเอื้อเหล่านั้นไปยัง “นายนักการเมือง และผองเพื่อน” ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นไปเพื่อสร้างบุญคุณและรักษาอำนาจการปกครองของตน และสุดท้าย “นายกอ รอมอตอ” ก็กลับกลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดโดยใช้ฐานอำนาจที่เหนือกว่ายึด “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)” ไปเป็นของตน และฮุบเงินภาษี...เงินเดือนทั้งหมดไปบริหารเองแทน “นายประชาชน คนสยาม”
ซึ่งการยึดบริษัทนี้จะสามารถเป็นไปได้ง่ายขึ้นหาก “นายกอ รอมอตอ” เป็นผู้ร่ำรวยทรัพย์สินล้นฟ้า เพราะ “นายกอ รอมอตอ” อาจใช้กลยุทธ์ควักกระเป๋าตัวเองจ่ายเงินเดือนเพิ่มให้ “นายนักการเมือง และผองเพื่อน” อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนเพิ่มจากเงินเดือนประจำที่ได้รับจาก “นายประชาชน คนสยาม” ซึ่งการซื้อคนด้วยเงินมหาศาลนั้นง่ายดายกว่าการซื้อคนด้วยใจนัก ด้วยยุทธวิธีดังกล่าวแล้วก็ไม่ยากนักที่ “นายกอ รอมอตอ” จะสามารถขึ้นมาเป็นใหญ่และกุม “บรรษัทสยามประเทศจำกัด(มหาชน)” ไว้ในกำมือได้ สุดท้าย “นายประชาชน คนสยาม” ก็ได้แต่คร่ำครวญในใจ…
“กูจ่ายภาษีจ้างโจรมาปล้นและยึดบริษัท”
พูดง่ายๆก็คือ มันมีความแตกต่างดังยกตัวอย่างไปแล้วอยู่ระหว่าง “จุดประสงค์ของเจ้าของประเทศ” คือ “ประชาชน” กับ “กลุ่มผู้บริหาร” ซึ่งก็คือ “สัตว์การเมือง” นั่นเอง...
พอแล้วดีกว่า...วัยรุ่นเซ็ง
ปล.ดังกล่าวไปแล้ว ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ของผมมันเพียงกระผีกหางอึ่ง ผิดถูกประการใดโปรดให้อภัยก่อนสับแหลก...