Tuesday, December 19, 2006
หมีมองคน: ความในใจจากรับน้องที่ผ่านมา “ปัญหา” ที่ได้รับการศึกษา ย่อมนำมาซึ่ง “ปัญญา” อันเป็นนิรันดร์
อันที่จริง กิจกรรมรับน้องของกลุ่มผมก็ผ่านมาได้หลายเดือนแล้ว แต่มันยังมีเรื่องค้างคาใจบางอย่างที่ยังคอยกวนใจ และคิดว่าถึงเวลาเสียทีที่จะพูดมันออกมาผ่านตัวหนังสือ
ผมอยากให้ทุกๆคนที่อยู่ในที่ประชุมสรุปงานได้อ่าน ส่วนคนอื่นๆที่แวะเวียนมา หากสนใจจะอ่านก็ไม่น่าใช่เรื่องเสียหายอะไร
มันลึกกว่ารับน้อง...
เรื่องน่าเบื่อมันเริ่มขึ้นในตอนประชุมสรุปงาน ซึ่งผมขอยืนยันว่า แม้ในเวลานั้นตัวเองจะมีสารเสพติดในร่างกายถึงสามชนิดเป็นอย่างน้อย แต่ละชนิดมีปริมาณค่อนข้างมาก และไม่ได้นอนมาตลอดหนึ่งวันหนึ่งคืนแห่งกิจกรรมมากมาย แต่สติของผมยังคงครบถ้วน บางทีอาจจะครบถ้วนยิ่งกว่าเวลาปรกติเสียด้วยซ้ำไป
กับทั้งท่วงท่าสุดเกรี้ยวกราดยามแสดงความคิดเห็นนั้น นั่นก็ยังคงเป็นลีลาปรกติยามพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นด้วย แม้แต่ท่าทีแข็งกระด้างยามพูดถึงสิ่งที่เห็นดีงามด้วย นั่นก็ยังเป็นอิริยาบถสามัญของตัวเอง หาได้เป็นสิ่งที่ได้รับการปรุงแต่งเพิ่มเติมด้วยฤทธิ์ของสารเสพติดแต่อย่างใด
ผมว่าปัญหามันเกิดจากการที่น้องคนหนึ่ง ซึ่งเป็นปีที่มีหน้าที่จัดงาน มีปัญหากับเพื่อนหลายๆคนในปีเดียวกัน น้องคนดังกล่าวสนิทกับผม และสำคัญที่สุดคือ น้องคนนั้นเป็นผู้หญิง
ก็ไม่ปฏิเสธ หากลีลาหม้อสาวที่ผมพ่นพรายไปตลอดเวลารับน้องทุกครั้ง จะทำให้พวกเขาติดภาพ หรือสร้างภาพว่าจริงๆแล้วผมเป็นคนอย่างนั้น และเช่นกันหากพวกเขาจะคิดว่า ผมคงจะเป็นเช่นนั้นกับน้องสาวคนนั้นด้วย ซึ่งก็เป็นธรรมดา เพราะผมก็ถูกมองว่าเป็นคนอย่างนั้นมาตลอดชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
และผมก็ไม่ว่าอะไร หากไม่มีใครคิดจะใส่ใจถึงความเป็นคนรักจริงของผม เพราะผมไม่เคยแสดงให้พวกเขาเห็น ด้วยคิดว่านั่นเป็นแง่มุมที่ผมคิดว่าไม่จำเป็นจะต้องแสดงให้คนส่วนใหญ่ได้เห็น ความรักจริงของผมมีค่า และมันควรได้แสดงให้เห็นแต่เฉพาะในคนที่ผมให้ค่า หรืออย่างน้อยที่สุดคือในเวลาที่ผมอยากพูด
และสำคัญกว่านั้นคือ ผมไม่ใช่พวกสร้างภาพ (เหมือนอย่างที่ผมเห็นหลายๆคนพยายามทำ) ไม่คาดหวังว่าจะต้องดูดี แต่แน่นอน ผมยอมรับไม่ได้กับการถูกกล่าวหาในสิ่งที่ผมไม่ได้เป็น
ในท่วงท่าและวาจาการหม้อที่ส่งออกไป เพราะผมรู้ได้ว่ามันสามารถนำมาซึ่งความเฮฮาของคนส่วนใหญ่ ซึ่งคงต้องขอโทษ “เหยื่อ” ไว้ในที่นี้ หากเธอคนใดที่เคยตกเป็น “เหยื่อ” ไม่ได้รู้สึกสนุกไปด้วย เพราะผมอาจจะคิดถึงความสนุกมวลรวมมากเกินไป โดยลืมคำนวณไปซึ่งความสนุกของตัวแปรบางตัว
คงไม่ต้องเอ่ย หรือกล่าวถึงว่าน้องคนที่ผมสนิทด้วยนั้นเป็นใคร และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร เพราะเชื่อว่าคนที่อยู่ในที่นั้นคงรู้กันดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมอยากพูดก็คือ สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อในเวลาแห่งการสรุปงานนั้นก็คือ เหตุแห่งปัญหาทั้งหมดในการรับน้องที่ผมพูดถึงนั้นมีประการเดียว คือการที่พวกเขาส่วนหนึ่งที่อยู่ในที่นั้นมีปัญหากับคนๆหนึ่ง จนนำมาซึ่งการไม่สื่อสารกันให้เพียงพออย่างที่ควรจะเป็น และทำให้เกิดปัญหาที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นมา
เวลาพูดถึงปัญหารับน้อง ผมไม่ได้พูดถึงปัญหารับน้อง เพราะปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในการรับน้อง แม้ดูแล้วคล้ายว่าจะเกิดขึ้นเพราะการรับน้อง แต่เท่าที่สังเกตมา ปัญหามันเกิดจากคนที่ทำกิจกรรมรับน้อง
มันมักจะเกิดจากการไม่พูดจากัน...
หรืออย่างน้อย...ไม่พูดจากันอย่างที่ควรจะเป็น
ผมพยายามอย่างยิ่งที่จะโยงปัญหาในการรับน้องเข้ากับชีวิตจริง ปัญหาอันเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง “คนกับคน” สองฝ่ายซึ่งครบถ้วนด้วยอารมณ์ความคิดความรู้สึกและอคติ สองฝ่ายที่อย่างไรเสียก็ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันไปจนตาย ตราบเท่าที่ใครก็ตามนั้นยังคงเรียกตัวเองว่าเป็น “คน” และค้นพบว่าตัวเองยังคงมีชีวิตอยู่ใน “สังคม”
การมีปฏิสัมพันธ์ทั้งเชิงทั่วไปและเชิงปัญหาระหว่าง “คนกับคน” นั้นไม่เคยมีคำว่าสิ้นสุด
ในการประชุมสรุปงานรับน้องทุกครั้ง (ที่ตัวเองเข้าสรุป) ผมพยายามสื่อให้เห็นว่า ปฏิสัมพันธ์เชิงปัญหาระหว่าง “คนกับคน” ที่ “ทำงานร่วมกัน” นั้น สามารถนำมาซึ่งปัญหาของงานได้
สิ่งที่ผมพยายามทำให้พวกคุณ ผู้มีส่วนร่วมกับงานทุกคนได้เห็นก็คือ ในการ “ทำงานร่วมกัน” นั้น เราควรจะจัดการกับปฏิสัมพันธ์เชิงปัญหานั้นอย่างไร เพราะ “ทำงาน” ที่ว่านั้น ผมไม่ได้หมายความเฉพาะแต่การรับน้อง แต่มันคือการทำงานใดใดก็ตาม ที่พวกคุณซึ่งยังคงอยู่ในระบบสังคมนั้นต้องเผชิญไปตลอดชีวิต
ในขณะที่สรุปงานรับน้องนั้น ผมได้พยายามสรุปแก่นสารของการจัดการปัญหาชีวิตไปด้วย แน่นอนว่ามันไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีคำพูดสวยหรู แต่มันมีแนวทางที่ใช้ได้ และใช้ได้ไปตลอดชีวิตจริงๆ
ผมเพียงต้องการให้ศึกษา “ปัญหา” เพื่อให้เกิด “ปัญญา”
ในการศึกษา “ปัญหา” ในการรับน้องที่ผ่านมา ผมไม่ได้พยายามต่อว่า ก่นด่าให้ผู้ที่อยู่ในที่นั้นชดใช้ในสิ่งที่ทำกับน้องที่ผมมีความสนิทด้วยเป็นพิเศษคนดังกล่าว ผมไม่คิดว่ามีใครต้องชดใช้อะไร เพราะไม่ได้มีใครทำอะไรผิด กับทั้งความสนิทที่มีระหว่างผมกับน้องคนนั้น ไม่ได้ก่อผลอะไรนอกจากการทำให้ผมได้รับรู้ข้อมูลจากสองฝ่ายมากขึ้น อีกทั้งโดยส่วนตัวแล้ว ผมมีทักษะในการมองคนที่สูงพอ และสูงพอจะรู้ว่า แต่ละฝ่ายกำลังคิดอะไร และกำลังจะทำอะไรกับผม
เพราะฉะนั้น ผมย่อมไม่เข้าข้างใคร ข้างเดียวที่ผมเข้าไปคือข้างในของปัญหา เพื่อค้นให้พบปัญญาที่ซ่อนอยู่ในนั้น โดยพาทุกคนเข้าไปด้วย เพื่อได้ค้นพบซึ่งปัญญานั้นด้วยกัน
อย่างที่บอก กิจกรรมรับน้องคือปฏิสัมพันธ์เชิงทำงานร่วมระหว่าง “คนกับคน” และเป็นไปได้ที่มันจะนำมาซึ่ง “ปฏิสัมพันธ์เชิงปัญหา” ซึ่งตรงนี้จะแสดงความเป็นมืออาชีพ ว่าในขณะที่ทำงานนั้น คุณและใครก็ตามที่กำลังทำงานจะเลือกอะไร ความคิดอารมณ์ความรู้สึกและอคติของตัวเอง หรือสัมฤทธิ์ผลของงาน ที่ต้องใช้แรงงานร่วมกันนั้น
ซึ่งวันหนึ่งหลังจากเรียนจบไป คุณก็ยังคงต้องมีรูปแบบปฏิสัมพันธ์ร่วมดังกล่าวกับคนอื่นๆในสังคมอื่นๆที่ไม่คุ้นเคย ผมจึงหวังจะทำให้การศึกษาปัญหาลักษณะนี้เสียแต่เนิ่นๆ ได้นำมาซึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาระหว่าง “คนกับคน” ให้ติดตัวคุณไปตลอดทั้งชีวิต
เหล่านั้นคือสิ่งที่ผมพยายามทำในการสรุปงานรับน้อง...
น่าเสียดาย ครั้งนี้ผมรู้สึกว่ามันถูกทำลายลงไปด้วยมุมมองที่คนกลุ่มหนึ่ง มีต่อความสัมพันธ์บริสุทธิ์ ความสัมพันธ์ในฐานะคนที่พอจะพูดคุยกันรู้เรื่องระหว่างผมกับน้องคนหนึ่ง ทั้งๆที่ผมรู้สึกว่ามันเป็นแค่ความรู้สึกดีๆของคนสองคน ความรู้สึกดีๆที่ไม่มีความแตกต่าง หรือมีประเด็นในเรื่องเพศหรือวัยเข้ามาเกี่ยวข้อง
ผมบอกตรงๆว่า ถ้าความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นทำให้ใจผมโอนเอียงไปข้างน้องคนดังกล่าวจริง รับน้องครั้งที่ผ่านมานี้ ย่อมต้องมีน้องผู้ชายคนหนึ่งถูกผมกระทืบ อย่างที่เรียกว่าผิดวิสัยคนใช้เหตุผล และหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง (อย่างไม่จำเป็นและไม่ควรจะต้องจำเป็น) ของผมไปอย่างแน่นอน
แต่ผมก็หวัง ว่าน้องผู้ชายคนนั้นคงไม่ลืมไปว่า ในงานไม้สักสัมพันธ์ที่เขาเมาจนข้ามเส้นสติไปนั้น รอยตีนของเขาที่เหยียบย่ำลงมาบนตัวผมอย่างคึกคะนอง ไม่ได้สร้างอะไรนอกจากรอยยิ้มของผม ว่าไอ้น้องคนนี้มันเมาได้เม๊า...เมา
ส่วนกับน้องอีกกลุ่ม ซึ่งเป็นรุ่นพี่ของน้องปีจัดงาน เข้าร่วมสรุปงานในช่วงกลางครัน และด่วนสรุปว่าผมกำลังพูดถึงเรื่องของน้องผู้หญิงคนสนิท (ในย่อหน้านี้ผมจะสมมติว่าเธอชื่อน้องบี) จึงเดินออกจากห้องสรุปงานไป ผมก็ขอบอกเลยว่า ปัญหาก็คือ ผมแม่งกำลังพูดถึงปัญหา และปัญหาเสือกเป็นเรื่องของน้องกลุ่มหนึ่งกับน้องบี พอพูดถึงปัญหานั้น มันก็เลยต้องมีการพูดชื่อของน้องบีอยู่เป็นนิจเนือง และปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ผมกับน้องบีแม่งเสือกสนิทกัน ซึ่งนั่นคงทำให้พวกเขาวาดภาพอะไรบางอย่างลงไปในใจ และปฏิเสธการศึกษาปัญหาของผม โดยที่ยังไม่ทันได้ฟังความอะไรในเชิงลึก ซึ่งกับพวกเขานั้น ผมได้พยายามหลายทีแล้วในการบอกให้พวกเขาใช้สมองให้มากกว่าตา มองสิ่งต่างๆให้ลึกกว่าที่ตาเห็น ซึ่งผมก็ตอบไม่ได้จริงๆ ว่ามันประสบความสำเร็จแค่ไหน
แต่ข้อหนึ่งที่ผม และพวกคุณ และอีกหลายๆคนมีเหมือนกันก็คือ เราอาจได้เคยแสดง “ความเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี” ให้น้องเห็น เพื่อให้เขาได้ไปค้นหาต่อไปว่า แล้วสิ่งใดกันที่เรียกว่าดี
และผมขอบอกพวกคุณกลุ่มนั้น และใครก็ตามอีกว่า หากคิดจะเข้าสรุปงาน ผมขอให้มาก่อนเวลา และทำความเข้าใจในประเด็นปัญหากันก่อน ไม่ใช่คิดว่าเป็นเวลาที่ตัวเองอยากมาก็มา มันแสดงถึงความไม่เคารพรุ่นน้อง ที่ต้องมานั่งทนหลังคดแข็งนั่งฟังการสรุปที่บางครั้ง พวกเขาบางคนอาจไม่ได้เห็นค่าอะไรของมัน คุณต้องคิดสักนิดว่า ไม่ว่าเหตุผลที่พ่อแม่ของน้องๆส่งพวกเขามาเข้ามามหาวิทยาลัยคืออะไร มันย่อมไม่ใช่ส่งมาจัดงานรับน้อง ลำพังพวกเขาต้องมาจัด มาทำในสิ่งที่เรายัดเยียดกันลงมาในฐานะที่เชื่อว่าเป็นประเพณีที่ดี เราเองก็ควรจะสำนึกขอบคุณในการยอมรับของพวกเขาให้มากเข้าอยู่แล้ว ดังนั้น จะทำอะไรพึงให้เกียรติแก่ความเสียสละของเขาบ้าง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การให้เกียรติย่อมไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องยอมเห็นแก่เขา ภายใต้ความคิดที่ว่าอย่างน้อยเขาก็ได้พยายามอย่างสุดความสามารถ ความคิดแบบนั้นรังแต่จะสร้างมะเร็งชีวิต สร้างมะเร็งทัศนคติแก่ตัวผู้รับ เขาควรจะได้รับรู้ว่า ความพยายามใดใดก็ตาม ไม่ว่ามันจะมากมายสูงส่งเพียงใด หากมันไม่ตอบโจทย์ใจความแห่งการกระทำแล้วไซร้ มันย่อมไม่หมายถึงความสำเร็จ
นั่นคือชีวิตจริง...
ไม่ใช่ทุกกรณี ที่คำพูดสูตรสำเร็จอย่าง “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” จะใช้ได้กับการดำเนินชีวิตในสังคมที่มีบริบทซับซ้อนอย่างทุกวันนี้
และพวกคุณเองได้เคยเรียนรู้มาแล้ว...
ไม่ว่า...จะเข้าใจมันหรือไม่ก็ตาม
ซึ่งตรงนี้ขอฝากไว้สำหรับผู้สรุปงานต่อๆไปทุกคน ว่ากรุณาคุยกันเองให้รู้เรื่อง ก่อนที่จะเข้าไปคุยกับคนอื่น เพราะผมบอกตรงๆว่า ความเหินห่างทำให้ผมไม่รู้ว่าใครจะพูดอะไรบ้าง ผมไม่รู้ว่าใครคิดอะไรบ้าง และพวกคุณเองก็คงไม่รู้เช่นกัน ว่าผมคิดอะไรอยู่บ้าง และผมจะพูดอะไรบ้าง และหากมีความเหินห่างเกิดขึ้นระหว่างพวกคุณ พวกคุณเองก็จะไม่อาจล่วงรู้ ว่าคนคุ้นหน้ารอบกายนั้นกำลังคิดอะไรอยู่บ้าง
สำคัญที่สุดและสุดท้าย ผมอยากจะบอกทุกคนว่า ในตอนที่ผมกำลังตอบปัญหาอันเกิดจากการรับน้อง ผมไม่ได้ตอบแค่ปัญหาของการรับน้อง
ผมกำลัง...ตอบปัญหาของชีวิต
ผมคงไม่เข้าไปวุ่นวาย ไม่เข้าไปเป็นตัวนำในการจัดการรับน้องอีก เพราะแม้จะทำมาแค่สามครั้งแต่ผมก็รู้สึกเหนื่อยหน่ายเต็มทีกับปัญหาซ้ำซาก ที่รุ่นพี่หลายๆคนซึ่งเคยผ่านการทำงานน่าจะตอบได้ แต่ก็ยังไม่วายที่มันจะหลุดขึ้นมาถึงผม ก็เข้าใจนะว่า มันคงเป็นผลมากจากคำแนะนำที่ว่า มีอะไรก็ให้คุยกับรุ่นพี่ และเข้าใจว่าบางครั้งคุยกับรุ่นพี่มาดี ก็ยังมาโดนผมตีกลับ (ด้วยเหตุผลที่หนักแน่นกว่า) เสียอีก บางทีนี่อาจจะเป็นการตัดปัญหา ให้มาคุยกับผม หรือรุ่นพี่ที่แก่กว่าผมเสียเลย ก็เข้าใจ แต่ก็อดเบื่อไม่ได้เหมือนกัน
เอ่อ...ถึงเบื่อแต่ก็ยังยินดีตอบนะ
บอกแล้วว่า ไม่ได้ตอบปัญหารับน้อง แต่มันคือการตอบปัญหาชีวิต
ก็ขอประกาศวางมืออย่างเป็นทางการ เป็นอันว่าสบายใจกันได้ ว่าต่อไปนี้ผมจะไม่เข้าไปวุ่นวายกับการรับน้อง (โดยไม่ได้รับเชิญ) อีก ที่ผ่านมา หากท่วงท่าความคิดของผมได้ไปเหยียบย่ำน้ำใจของใครเข้า ผมก็คงจะขอโทษไว้ณ.ที่นี้ ขอโทษจากใจจริง โดยไม่อ้างถึงซึ่งความหวังดีใดใดทั้งสิ้น
แต่ผมจะไม่ยอมรับว่าที่ผมทำไปนั้นมันผิด เว้นเสียแต่ว่าพวกคุณจะมีเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอมายืนยัน ว่าสิ่งที่ผมทำนั้นผิด แต่ผมขอแนะนำว่า การหาผิดถูกเพื่อแบ่งฝ่ายหรือเอาชนะกันนั้นไม่ใช่เรื่องดี เราควรศึกษาซึ่งความแตกต่างทางความคิด อันนำมาซึ่งอคติหรือความเกลียดชังใดใด เพื่อได้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันที่มากขึ้น
แต่ว่า ถึงจะไม่ได้วุ่นวายกับการจัดรับน้องแล้ว ผมก็ยังยืนยันว่าผมยินดีที่จะให้คำแนะนำ หากยังมีคนต้องการ เพราะอย่างที่ผมบอกไป ผมถือว่านั่นคือการตอบปัญหาชีวิต
และสำคัญที่สุด...ผมจะยังคงไปรับน้องตราบที่ยังไปได้
เพราะไม่ว่าที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไร จะมีเรื่องดีเรื่องไม่ดี มีเรื่องถูกใจมีเรื่องขัดใจมากน้อยเพียงไหน การรับน้อง หรือมีกิจกรรมใดใดร่วมกับพวกคุณ ก็เป็นความทรงจำที่ดีสำหรับผมเสมอ
ผมคงไม่พูด...ว่าผมรักพวกคุณ
แต่ผมขอขอบคุณ...
ขอบคุณที่สอนอะไรผมมากมาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้าง ให้ตัวผมได้เป็นตัวผมอย่างที่เป็นในทุกวันนี้
ก้มหัวขอบคุณให้จากใจจริงครับ...
ปล.1: ลองทบทวนกันบ้างนะครับว่า ภายใต้เงินแต่ละครั้งที่จ่ายลงไปเพื่อการรับน้องนั้น มันทำให้บรรลุจุดประสงค์ ที่พวกเราใช้เป็นเหตุผล (ข้ออ้าง?) ในการจัดกิจกรรมรับน้องมากน้อยแค่ไหน เพราะในความรู้สึกของผม ในขณะที่ตัวเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความคุ้มค่าของมันกลับกำลังลดน้อยลงไปทุกที จนเราควรจะคิดถึงการรับน้องในรูปแบบอื่น ที่น่าจะทำให้บรรลุจุดประสงค์ได้มากกว่า และคุ้มค่ากับเงินที่ลงไปมากกว่ากันได้แล้ว พวกคุณเรียนเศรษฐศาสตร์ น่าจะมีความคุ้นเคยกับ Opportunity Cost, Cost & Benefit Analysis และ The 3 Core Questions of Production; What, How, For Whom เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ซึ่งในสิ่งสุดท้ายนั้น ผมขอแนะนำว่า ก่อนจะผลิตอย่างไร เราต้องคิดให้หนักก่อนว่า เรากำลังจะผลิตเพื่อใคร และเรา ควรที่จะรู้จักใครที่เรากำลังจะผลิตเพื่อนั้นให้ดีเสียก่อน
ปล.2: และถ้าใครข้องใจอะไร ไม่ว่าจะเรื่องอะไร ถามเถอะครับ ถามมาได้ ผมยินดีตอบทุกสิ่ง ผมสนับสนุนการพูดคุยทำความเข้าใจกัน และไม่มีความจำเป็นที่คุณจะต้องถามในฐานะที่ผมเป็นพี่คนหนึ่ง ในการพูดคุยเรื่องความคิดกัน ผมยินดีจะถอดสถานะทางสังคมจอมปลอมทั้งหลายทั้งปวงทิ้งไป คุณสามารถถามได้โดยลืมผมในฐานะ “พี่เบิร์ด” หรือ “ป๋าเบิร์ด” ไป และถามในฐานะที่ผมเป็นเพียง “ไอ้เหี้ยเบิร์ด” ตัวหนึ่ง เพราะผมเชื่อว่า “มารยาททางสังคมเป็นเพียงตัวบิดเบือนความจริงตัวหนึ่ง” เท่านั้นครับ
ผมอยากให้ทุกๆคนที่อยู่ในที่ประชุมสรุปงานได้อ่าน ส่วนคนอื่นๆที่แวะเวียนมา หากสนใจจะอ่านก็ไม่น่าใช่เรื่องเสียหายอะไร
มันลึกกว่ารับน้อง...
เรื่องน่าเบื่อมันเริ่มขึ้นในตอนประชุมสรุปงาน ซึ่งผมขอยืนยันว่า แม้ในเวลานั้นตัวเองจะมีสารเสพติดในร่างกายถึงสามชนิดเป็นอย่างน้อย แต่ละชนิดมีปริมาณค่อนข้างมาก และไม่ได้นอนมาตลอดหนึ่งวันหนึ่งคืนแห่งกิจกรรมมากมาย แต่สติของผมยังคงครบถ้วน บางทีอาจจะครบถ้วนยิ่งกว่าเวลาปรกติเสียด้วยซ้ำไป
กับทั้งท่วงท่าสุดเกรี้ยวกราดยามแสดงความคิดเห็นนั้น นั่นก็ยังคงเป็นลีลาปรกติยามพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นด้วย แม้แต่ท่าทีแข็งกระด้างยามพูดถึงสิ่งที่เห็นดีงามด้วย นั่นก็ยังเป็นอิริยาบถสามัญของตัวเอง หาได้เป็นสิ่งที่ได้รับการปรุงแต่งเพิ่มเติมด้วยฤทธิ์ของสารเสพติดแต่อย่างใด
ผมว่าปัญหามันเกิดจากการที่น้องคนหนึ่ง ซึ่งเป็นปีที่มีหน้าที่จัดงาน มีปัญหากับเพื่อนหลายๆคนในปีเดียวกัน น้องคนดังกล่าวสนิทกับผม และสำคัญที่สุดคือ น้องคนนั้นเป็นผู้หญิง
ก็ไม่ปฏิเสธ หากลีลาหม้อสาวที่ผมพ่นพรายไปตลอดเวลารับน้องทุกครั้ง จะทำให้พวกเขาติดภาพ หรือสร้างภาพว่าจริงๆแล้วผมเป็นคนอย่างนั้น และเช่นกันหากพวกเขาจะคิดว่า ผมคงจะเป็นเช่นนั้นกับน้องสาวคนนั้นด้วย ซึ่งก็เป็นธรรมดา เพราะผมก็ถูกมองว่าเป็นคนอย่างนั้นมาตลอดชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
และผมก็ไม่ว่าอะไร หากไม่มีใครคิดจะใส่ใจถึงความเป็นคนรักจริงของผม เพราะผมไม่เคยแสดงให้พวกเขาเห็น ด้วยคิดว่านั่นเป็นแง่มุมที่ผมคิดว่าไม่จำเป็นจะต้องแสดงให้คนส่วนใหญ่ได้เห็น ความรักจริงของผมมีค่า และมันควรได้แสดงให้เห็นแต่เฉพาะในคนที่ผมให้ค่า หรืออย่างน้อยที่สุดคือในเวลาที่ผมอยากพูด
และสำคัญกว่านั้นคือ ผมไม่ใช่พวกสร้างภาพ (เหมือนอย่างที่ผมเห็นหลายๆคนพยายามทำ) ไม่คาดหวังว่าจะต้องดูดี แต่แน่นอน ผมยอมรับไม่ได้กับการถูกกล่าวหาในสิ่งที่ผมไม่ได้เป็น
ในท่วงท่าและวาจาการหม้อที่ส่งออกไป เพราะผมรู้ได้ว่ามันสามารถนำมาซึ่งความเฮฮาของคนส่วนใหญ่ ซึ่งคงต้องขอโทษ “เหยื่อ” ไว้ในที่นี้ หากเธอคนใดที่เคยตกเป็น “เหยื่อ” ไม่ได้รู้สึกสนุกไปด้วย เพราะผมอาจจะคิดถึงความสนุกมวลรวมมากเกินไป โดยลืมคำนวณไปซึ่งความสนุกของตัวแปรบางตัว
คงไม่ต้องเอ่ย หรือกล่าวถึงว่าน้องคนที่ผมสนิทด้วยนั้นเป็นใคร และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร เพราะเชื่อว่าคนที่อยู่ในที่นั้นคงรู้กันดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมอยากพูดก็คือ สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อในเวลาแห่งการสรุปงานนั้นก็คือ เหตุแห่งปัญหาทั้งหมดในการรับน้องที่ผมพูดถึงนั้นมีประการเดียว คือการที่พวกเขาส่วนหนึ่งที่อยู่ในที่นั้นมีปัญหากับคนๆหนึ่ง จนนำมาซึ่งการไม่สื่อสารกันให้เพียงพออย่างที่ควรจะเป็น และทำให้เกิดปัญหาที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นมา
เวลาพูดถึงปัญหารับน้อง ผมไม่ได้พูดถึงปัญหารับน้อง เพราะปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในการรับน้อง แม้ดูแล้วคล้ายว่าจะเกิดขึ้นเพราะการรับน้อง แต่เท่าที่สังเกตมา ปัญหามันเกิดจากคนที่ทำกิจกรรมรับน้อง
มันมักจะเกิดจากการไม่พูดจากัน...
หรืออย่างน้อย...ไม่พูดจากันอย่างที่ควรจะเป็น
ผมพยายามอย่างยิ่งที่จะโยงปัญหาในการรับน้องเข้ากับชีวิตจริง ปัญหาอันเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง “คนกับคน” สองฝ่ายซึ่งครบถ้วนด้วยอารมณ์ความคิดความรู้สึกและอคติ สองฝ่ายที่อย่างไรเสียก็ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันไปจนตาย ตราบเท่าที่ใครก็ตามนั้นยังคงเรียกตัวเองว่าเป็น “คน” และค้นพบว่าตัวเองยังคงมีชีวิตอยู่ใน “สังคม”
การมีปฏิสัมพันธ์ทั้งเชิงทั่วไปและเชิงปัญหาระหว่าง “คนกับคน” นั้นไม่เคยมีคำว่าสิ้นสุด
ในการประชุมสรุปงานรับน้องทุกครั้ง (ที่ตัวเองเข้าสรุป) ผมพยายามสื่อให้เห็นว่า ปฏิสัมพันธ์เชิงปัญหาระหว่าง “คนกับคน” ที่ “ทำงานร่วมกัน” นั้น สามารถนำมาซึ่งปัญหาของงานได้
สิ่งที่ผมพยายามทำให้พวกคุณ ผู้มีส่วนร่วมกับงานทุกคนได้เห็นก็คือ ในการ “ทำงานร่วมกัน” นั้น เราควรจะจัดการกับปฏิสัมพันธ์เชิงปัญหานั้นอย่างไร เพราะ “ทำงาน” ที่ว่านั้น ผมไม่ได้หมายความเฉพาะแต่การรับน้อง แต่มันคือการทำงานใดใดก็ตาม ที่พวกคุณซึ่งยังคงอยู่ในระบบสังคมนั้นต้องเผชิญไปตลอดชีวิต
ในขณะที่สรุปงานรับน้องนั้น ผมได้พยายามสรุปแก่นสารของการจัดการปัญหาชีวิตไปด้วย แน่นอนว่ามันไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีคำพูดสวยหรู แต่มันมีแนวทางที่ใช้ได้ และใช้ได้ไปตลอดชีวิตจริงๆ
ผมเพียงต้องการให้ศึกษา “ปัญหา” เพื่อให้เกิด “ปัญญา”
ในการศึกษา “ปัญหา” ในการรับน้องที่ผ่านมา ผมไม่ได้พยายามต่อว่า ก่นด่าให้ผู้ที่อยู่ในที่นั้นชดใช้ในสิ่งที่ทำกับน้องที่ผมมีความสนิทด้วยเป็นพิเศษคนดังกล่าว ผมไม่คิดว่ามีใครต้องชดใช้อะไร เพราะไม่ได้มีใครทำอะไรผิด กับทั้งความสนิทที่มีระหว่างผมกับน้องคนนั้น ไม่ได้ก่อผลอะไรนอกจากการทำให้ผมได้รับรู้ข้อมูลจากสองฝ่ายมากขึ้น อีกทั้งโดยส่วนตัวแล้ว ผมมีทักษะในการมองคนที่สูงพอ และสูงพอจะรู้ว่า แต่ละฝ่ายกำลังคิดอะไร และกำลังจะทำอะไรกับผม
เพราะฉะนั้น ผมย่อมไม่เข้าข้างใคร ข้างเดียวที่ผมเข้าไปคือข้างในของปัญหา เพื่อค้นให้พบปัญญาที่ซ่อนอยู่ในนั้น โดยพาทุกคนเข้าไปด้วย เพื่อได้ค้นพบซึ่งปัญญานั้นด้วยกัน
อย่างที่บอก กิจกรรมรับน้องคือปฏิสัมพันธ์เชิงทำงานร่วมระหว่าง “คนกับคน” และเป็นไปได้ที่มันจะนำมาซึ่ง “ปฏิสัมพันธ์เชิงปัญหา” ซึ่งตรงนี้จะแสดงความเป็นมืออาชีพ ว่าในขณะที่ทำงานนั้น คุณและใครก็ตามที่กำลังทำงานจะเลือกอะไร ความคิดอารมณ์ความรู้สึกและอคติของตัวเอง หรือสัมฤทธิ์ผลของงาน ที่ต้องใช้แรงงานร่วมกันนั้น
ซึ่งวันหนึ่งหลังจากเรียนจบไป คุณก็ยังคงต้องมีรูปแบบปฏิสัมพันธ์ร่วมดังกล่าวกับคนอื่นๆในสังคมอื่นๆที่ไม่คุ้นเคย ผมจึงหวังจะทำให้การศึกษาปัญหาลักษณะนี้เสียแต่เนิ่นๆ ได้นำมาซึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาระหว่าง “คนกับคน” ให้ติดตัวคุณไปตลอดทั้งชีวิต
เหล่านั้นคือสิ่งที่ผมพยายามทำในการสรุปงานรับน้อง...
น่าเสียดาย ครั้งนี้ผมรู้สึกว่ามันถูกทำลายลงไปด้วยมุมมองที่คนกลุ่มหนึ่ง มีต่อความสัมพันธ์บริสุทธิ์ ความสัมพันธ์ในฐานะคนที่พอจะพูดคุยกันรู้เรื่องระหว่างผมกับน้องคนหนึ่ง ทั้งๆที่ผมรู้สึกว่ามันเป็นแค่ความรู้สึกดีๆของคนสองคน ความรู้สึกดีๆที่ไม่มีความแตกต่าง หรือมีประเด็นในเรื่องเพศหรือวัยเข้ามาเกี่ยวข้อง
ผมบอกตรงๆว่า ถ้าความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นทำให้ใจผมโอนเอียงไปข้างน้องคนดังกล่าวจริง รับน้องครั้งที่ผ่านมานี้ ย่อมต้องมีน้องผู้ชายคนหนึ่งถูกผมกระทืบ อย่างที่เรียกว่าผิดวิสัยคนใช้เหตุผล และหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง (อย่างไม่จำเป็นและไม่ควรจะต้องจำเป็น) ของผมไปอย่างแน่นอน
แต่ผมก็หวัง ว่าน้องผู้ชายคนนั้นคงไม่ลืมไปว่า ในงานไม้สักสัมพันธ์ที่เขาเมาจนข้ามเส้นสติไปนั้น รอยตีนของเขาที่เหยียบย่ำลงมาบนตัวผมอย่างคึกคะนอง ไม่ได้สร้างอะไรนอกจากรอยยิ้มของผม ว่าไอ้น้องคนนี้มันเมาได้เม๊า...เมา
ส่วนกับน้องอีกกลุ่ม ซึ่งเป็นรุ่นพี่ของน้องปีจัดงาน เข้าร่วมสรุปงานในช่วงกลางครัน และด่วนสรุปว่าผมกำลังพูดถึงเรื่องของน้องผู้หญิงคนสนิท (ในย่อหน้านี้ผมจะสมมติว่าเธอชื่อน้องบี) จึงเดินออกจากห้องสรุปงานไป ผมก็ขอบอกเลยว่า ปัญหาก็คือ ผมแม่งกำลังพูดถึงปัญหา และปัญหาเสือกเป็นเรื่องของน้องกลุ่มหนึ่งกับน้องบี พอพูดถึงปัญหานั้น มันก็เลยต้องมีการพูดชื่อของน้องบีอยู่เป็นนิจเนือง และปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ผมกับน้องบีแม่งเสือกสนิทกัน ซึ่งนั่นคงทำให้พวกเขาวาดภาพอะไรบางอย่างลงไปในใจ และปฏิเสธการศึกษาปัญหาของผม โดยที่ยังไม่ทันได้ฟังความอะไรในเชิงลึก ซึ่งกับพวกเขานั้น ผมได้พยายามหลายทีแล้วในการบอกให้พวกเขาใช้สมองให้มากกว่าตา มองสิ่งต่างๆให้ลึกกว่าที่ตาเห็น ซึ่งผมก็ตอบไม่ได้จริงๆ ว่ามันประสบความสำเร็จแค่ไหน
แต่ข้อหนึ่งที่ผม และพวกคุณ และอีกหลายๆคนมีเหมือนกันก็คือ เราอาจได้เคยแสดง “ความเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี” ให้น้องเห็น เพื่อให้เขาได้ไปค้นหาต่อไปว่า แล้วสิ่งใดกันที่เรียกว่าดี
และผมขอบอกพวกคุณกลุ่มนั้น และใครก็ตามอีกว่า หากคิดจะเข้าสรุปงาน ผมขอให้มาก่อนเวลา และทำความเข้าใจในประเด็นปัญหากันก่อน ไม่ใช่คิดว่าเป็นเวลาที่ตัวเองอยากมาก็มา มันแสดงถึงความไม่เคารพรุ่นน้อง ที่ต้องมานั่งทนหลังคดแข็งนั่งฟังการสรุปที่บางครั้ง พวกเขาบางคนอาจไม่ได้เห็นค่าอะไรของมัน คุณต้องคิดสักนิดว่า ไม่ว่าเหตุผลที่พ่อแม่ของน้องๆส่งพวกเขามาเข้ามามหาวิทยาลัยคืออะไร มันย่อมไม่ใช่ส่งมาจัดงานรับน้อง ลำพังพวกเขาต้องมาจัด มาทำในสิ่งที่เรายัดเยียดกันลงมาในฐานะที่เชื่อว่าเป็นประเพณีที่ดี เราเองก็ควรจะสำนึกขอบคุณในการยอมรับของพวกเขาให้มากเข้าอยู่แล้ว ดังนั้น จะทำอะไรพึงให้เกียรติแก่ความเสียสละของเขาบ้าง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การให้เกียรติย่อมไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องยอมเห็นแก่เขา ภายใต้ความคิดที่ว่าอย่างน้อยเขาก็ได้พยายามอย่างสุดความสามารถ ความคิดแบบนั้นรังแต่จะสร้างมะเร็งชีวิต สร้างมะเร็งทัศนคติแก่ตัวผู้รับ เขาควรจะได้รับรู้ว่า ความพยายามใดใดก็ตาม ไม่ว่ามันจะมากมายสูงส่งเพียงใด หากมันไม่ตอบโจทย์ใจความแห่งการกระทำแล้วไซร้ มันย่อมไม่หมายถึงความสำเร็จ
นั่นคือชีวิตจริง...
ไม่ใช่ทุกกรณี ที่คำพูดสูตรสำเร็จอย่าง “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” จะใช้ได้กับการดำเนินชีวิตในสังคมที่มีบริบทซับซ้อนอย่างทุกวันนี้
และพวกคุณเองได้เคยเรียนรู้มาแล้ว...
ไม่ว่า...จะเข้าใจมันหรือไม่ก็ตาม
ซึ่งตรงนี้ขอฝากไว้สำหรับผู้สรุปงานต่อๆไปทุกคน ว่ากรุณาคุยกันเองให้รู้เรื่อง ก่อนที่จะเข้าไปคุยกับคนอื่น เพราะผมบอกตรงๆว่า ความเหินห่างทำให้ผมไม่รู้ว่าใครจะพูดอะไรบ้าง ผมไม่รู้ว่าใครคิดอะไรบ้าง และพวกคุณเองก็คงไม่รู้เช่นกัน ว่าผมคิดอะไรอยู่บ้าง และผมจะพูดอะไรบ้าง และหากมีความเหินห่างเกิดขึ้นระหว่างพวกคุณ พวกคุณเองก็จะไม่อาจล่วงรู้ ว่าคนคุ้นหน้ารอบกายนั้นกำลังคิดอะไรอยู่บ้าง
สำคัญที่สุดและสุดท้าย ผมอยากจะบอกทุกคนว่า ในตอนที่ผมกำลังตอบปัญหาอันเกิดจากการรับน้อง ผมไม่ได้ตอบแค่ปัญหาของการรับน้อง
ผมกำลัง...ตอบปัญหาของชีวิต
ผมคงไม่เข้าไปวุ่นวาย ไม่เข้าไปเป็นตัวนำในการจัดการรับน้องอีก เพราะแม้จะทำมาแค่สามครั้งแต่ผมก็รู้สึกเหนื่อยหน่ายเต็มทีกับปัญหาซ้ำซาก ที่รุ่นพี่หลายๆคนซึ่งเคยผ่านการทำงานน่าจะตอบได้ แต่ก็ยังไม่วายที่มันจะหลุดขึ้นมาถึงผม ก็เข้าใจนะว่า มันคงเป็นผลมากจากคำแนะนำที่ว่า มีอะไรก็ให้คุยกับรุ่นพี่ และเข้าใจว่าบางครั้งคุยกับรุ่นพี่มาดี ก็ยังมาโดนผมตีกลับ (ด้วยเหตุผลที่หนักแน่นกว่า) เสียอีก บางทีนี่อาจจะเป็นการตัดปัญหา ให้มาคุยกับผม หรือรุ่นพี่ที่แก่กว่าผมเสียเลย ก็เข้าใจ แต่ก็อดเบื่อไม่ได้เหมือนกัน
เอ่อ...ถึงเบื่อแต่ก็ยังยินดีตอบนะ
บอกแล้วว่า ไม่ได้ตอบปัญหารับน้อง แต่มันคือการตอบปัญหาชีวิต
ก็ขอประกาศวางมืออย่างเป็นทางการ เป็นอันว่าสบายใจกันได้ ว่าต่อไปนี้ผมจะไม่เข้าไปวุ่นวายกับการรับน้อง (โดยไม่ได้รับเชิญ) อีก ที่ผ่านมา หากท่วงท่าความคิดของผมได้ไปเหยียบย่ำน้ำใจของใครเข้า ผมก็คงจะขอโทษไว้ณ.ที่นี้ ขอโทษจากใจจริง โดยไม่อ้างถึงซึ่งความหวังดีใดใดทั้งสิ้น
แต่ผมจะไม่ยอมรับว่าที่ผมทำไปนั้นมันผิด เว้นเสียแต่ว่าพวกคุณจะมีเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอมายืนยัน ว่าสิ่งที่ผมทำนั้นผิด แต่ผมขอแนะนำว่า การหาผิดถูกเพื่อแบ่งฝ่ายหรือเอาชนะกันนั้นไม่ใช่เรื่องดี เราควรศึกษาซึ่งความแตกต่างทางความคิด อันนำมาซึ่งอคติหรือความเกลียดชังใดใด เพื่อได้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันที่มากขึ้น
แต่ว่า ถึงจะไม่ได้วุ่นวายกับการจัดรับน้องแล้ว ผมก็ยังยืนยันว่าผมยินดีที่จะให้คำแนะนำ หากยังมีคนต้องการ เพราะอย่างที่ผมบอกไป ผมถือว่านั่นคือการตอบปัญหาชีวิต
และสำคัญที่สุด...ผมจะยังคงไปรับน้องตราบที่ยังไปได้
เพราะไม่ว่าที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไร จะมีเรื่องดีเรื่องไม่ดี มีเรื่องถูกใจมีเรื่องขัดใจมากน้อยเพียงไหน การรับน้อง หรือมีกิจกรรมใดใดร่วมกับพวกคุณ ก็เป็นความทรงจำที่ดีสำหรับผมเสมอ
ผมคงไม่พูด...ว่าผมรักพวกคุณ
แต่ผมขอขอบคุณ...
ขอบคุณที่สอนอะไรผมมากมาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้าง ให้ตัวผมได้เป็นตัวผมอย่างที่เป็นในทุกวันนี้
ก้มหัวขอบคุณให้จากใจจริงครับ...
ปล.1: ลองทบทวนกันบ้างนะครับว่า ภายใต้เงินแต่ละครั้งที่จ่ายลงไปเพื่อการรับน้องนั้น มันทำให้บรรลุจุดประสงค์ ที่พวกเราใช้เป็นเหตุผล (ข้ออ้าง?) ในการจัดกิจกรรมรับน้องมากน้อยแค่ไหน เพราะในความรู้สึกของผม ในขณะที่ตัวเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความคุ้มค่าของมันกลับกำลังลดน้อยลงไปทุกที จนเราควรจะคิดถึงการรับน้องในรูปแบบอื่น ที่น่าจะทำให้บรรลุจุดประสงค์ได้มากกว่า และคุ้มค่ากับเงินที่ลงไปมากกว่ากันได้แล้ว พวกคุณเรียนเศรษฐศาสตร์ น่าจะมีความคุ้นเคยกับ Opportunity Cost, Cost & Benefit Analysis และ The 3 Core Questions of Production; What, How, For Whom เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ซึ่งในสิ่งสุดท้ายนั้น ผมขอแนะนำว่า ก่อนจะผลิตอย่างไร เราต้องคิดให้หนักก่อนว่า เรากำลังจะผลิตเพื่อใคร และเรา ควรที่จะรู้จักใครที่เรากำลังจะผลิตเพื่อนั้นให้ดีเสียก่อน
ปล.2: และถ้าใครข้องใจอะไร ไม่ว่าจะเรื่องอะไร ถามเถอะครับ ถามมาได้ ผมยินดีตอบทุกสิ่ง ผมสนับสนุนการพูดคุยทำความเข้าใจกัน และไม่มีความจำเป็นที่คุณจะต้องถามในฐานะที่ผมเป็นพี่คนหนึ่ง ในการพูดคุยเรื่องความคิดกัน ผมยินดีจะถอดสถานะทางสังคมจอมปลอมทั้งหลายทั้งปวงทิ้งไป คุณสามารถถามได้โดยลืมผมในฐานะ “พี่เบิร์ด” หรือ “ป๋าเบิร์ด” ไป และถามในฐานะที่ผมเป็นเพียง “ไอ้เหี้ยเบิร์ด” ตัวหนึ่ง เพราะผมเชื่อว่า “มารยาททางสังคมเป็นเพียงตัวบิดเบือนความจริงตัวหนึ่ง” เท่านั้นครับ