Saturday, October 07, 2006
BMTA - Bangkokian’s Menace Transportation Adventure -ภาคการแก้ไข-
จากนี้ไปจะเป็นความว่าด้วยภาคแนวคิด (เท่าที่พอจะคิดได้) และเป็นการเปิดเวทีระดมความคิดแก่ผู้ที่สนใจ เพื่อทำการแก้ไขให้ BMTA ในแบบที่ผมเชื่อว่าเป็น และ (คาดว่า) หลายๆคนคงคิดเชื่อไปเช่นเดียวกับผมบ้างแล้วในตอนนี้ได้กลับมาเป็น BMTA แบบที่ทางองค์กรรัฐประกาศแก่ประชาชน
หากจะหวังเพียงให้ภาครัฐเห็นปัญหาแล้วทำการแก้ไข แบบนั้นก็คงไม่ต่างอะไรกับการนั่งรอใครสักคนมาทำการรัฐประหาร BMTA เพื่อฉีก “บัสธรรมนูญ” (อ่านว่า บั๊ด-สะ-ทำ-มะ-นูน) ฉบับเดิมทิ้ง เป็นการนั่งรอเมสไซอาห์ตามรูปวิถีการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ
ดังนั้น ในภาคนี้ ผมจึงขอแยกการแก้ปัญหาออกเป็นหน้าที่ของสองฝ่าย คือทั้งภาครัฐและประชาชน
-ภาครัฐ-
สัญญาเป็นสิ่งสำคัญ...
สัญญาที่ว่านั้นต้องมีทั้งสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Contract) และสัญญาใจที่ยิ่งใหญ่กว่าเพียงลมปาก (Promise)
ดังชื่อที่ว่า “ขนส่งมวลชน” นั้นก็เพียงพอจะบอกให้รู้แล้วว่า บริการขนส่งที่จะจัดทำขึ้นนี้ มีไว้เพื่อทำการขนส่งมวลชน หรือก็คือประชาชนที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองบริหารของรัฐ ดังนั้น รัฐต้องมีการออกแบบสัญญาลายลักษณ์อักษรที่ดี โดยจะต้องมีรากฐานมาจากการเล็งเห็นและพิจารณาอย่างถ้วนถี่แล้วว่า สัญญาที่ออกแบบมานั้น จะต้องสามารถควบคุมกำกับการควบคุมดูแลบริการของผู้รับสัมปทานบริการ ให้เกิดมีซึ่งความเคารพในสิทธิเสรีภาพในชีวิตจิตใจและร่างกายของมวลชน หรือประชาชนที่ใช้บริการดังได้รับความคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญ และเมื่อหนึ่งเมื่อใดเมื่อคู่สัญญา (ผู้รับสัมปทาน) มิได้ปฏิบัติไปตามความในเนื้อหาสัญญานั้น รัฐมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้ทันที
ออกแบบดีที่ว่านั้นก็คือ ตัวสัญญาจะต้องมีความรัดกุม ไม่ปล่อยให้เกิดช่องโหว่ทางกฎหมายใดใดอันจะสามารถทำให้ฝ่ายผู้รับสัมปทานสามารถอาศัยช่องโหว่นั้นมาหาประโยชน์ให้ตัวเองได้ ซึ่งในกรณีนี้นั้นการทำสัญญาแบบปีต่อปีหรือไม่เกินสามปีน่าจะเหมาะสมที่สุด เพราะมีช่วงเวลาถือครองสัมปทานที่สั้น กับทั้งยังทำให้ไม่เกิดการผูกขาด เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเจ้าอื่นได้เสนอความจำนงเข้ามา ทำให้เกิดการแข่งขันกันของฝ่ายที่ต้องการจะได้รับสัมปทาน ซึ่งตรงนี้นั้นจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ ทั้งในแง่ลักษณะการบริการที่ดี และ/หรืออาจจะมีค่าบริการที่ต่ำลง นอกจากนี้ ความต้องการให้ตัวเองได้รับสัมปทานต่อหลังจากหมดสัญญาจะช่วยเป็นตัวบีบ เป็นแรงจูงใจให้ฝ่ายผู้รับสัมปทานมุ่งปฏิบัติตามความในสัญญาได้ อีกทั้งรัฐยังสามารถตรวจสอบพฤติบริการของคู่สัญญาได้อย่างละเอียดว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ และไม่เกิดความหย่อนยานในการตรวจสอบอันเนื่องความยาวนานของกาลเวลา
ซึ่งในเรื่องของการออกแบบสัญญาที่ดีนั้น ผมคิดว่าไม่น่าเกินความสามารถของรัฐในการที่จะหาเนติบริกรฝีมือดีมาช่วยเหลือในส่วนนี้
หากมองในเรื่องของสภาพรถ เป็นไปได้ว่ารูปแบบสัญญาที่ดีดังกล่าวนั้นอาจทำให้ประชาชนต้องรับภาระค่าบริการที่สูงขึ้น แต่ผมเชื่อว่า มันมีวิธีง่ายๆและประหยัดเงินในการที่จะบำรุงรักษาสภาพรถให้อยู่ในสถานะที่มีความปลอดภัยเพียงพอจะรองรับการใช้งานของประชาชน ซึ่งตรงส่วนนี้ คงต้องรบกวนรัฐหรือผู้ที่มีความรู้ในการคิดหาทางออก มิใช่ปล่อยให้ทางผู้รับสัมปทานไปจัดการเอาเอง เพราะผมไม่มั่นใจในความกระหายกินค่าหัวคิวของคนบางกลุ่ม อันอาจนำมาซึ่งรายงานค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพรถที่สูงกว่าเป็นจริง และเป็นเหตุอันอ้างขอผลเป็นการขึ้นค่าบริการได้
ผมพอจะเข้าใจว่า ของบางอย่างนั้นเป็นไปได้ยากหากอยากจะได้ “ถูก” และ “ดี” มาอยู่ในที่เดียวกัน
ดังนั้น แง่ด้านที่ผมอยากจะเน้นจริงๆจึงเป็นเรื่องของจิตสำนึกที่มากกว่าเพียงวินัยมารยาทในการขับรถตามกฎจราจรของคนที่จะมาทำหน้าที่ขับ เป็นจิตสำนึกว่าด้วยเรื่องภาระแห่งพหุชีพอื่นๆที่ตนต้องแบกรับในฐานะคนขับรถโดยสารประจำทาง
อย่างน้อย ถ้าทำให้คนขับมีจิตสำนึกในการขับที่ดีได้ ผมเชื่อว่าเราน่าจะประหยัดค่าถมถาดหลุมด้วยมาตรวัดความเร็วไปได้โขเลยทีเดียว
ซึ่งในส่วนของจิตสำนึกที่ดีนั้น คงต้องรบกวนทางองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้สรรหาและเสริมสร้างแรงจูงใจที่ดี ที่จะชี้ชวนบุคลากรที่มีหน้าที่ขับรถโดยสารประจำทางได้มีจิตสำนึกที่ดี ซึ่งผมไม่อยากให้แรงจูงใจนั้นเป็นไปในเรื่องที่คาบเกี่ยวกับเงิน อาทิเช่นการเพิ่มค่าแรงให้กับพนักงาน หรือเรื่องของการเพิ่มส่วนแบ่งจากค่าโดยสารต่อรอบให้ เพราะอาจส่งผลถึงค่าบริการที่สูงขึ้นสำหรับกรณีแรก อันอาจเป็นปัญหาต่อปากท้องของประชาชนที่ยังต้องทำงานแบบหาเช้ากินค่ำได้ และส่งผลถึงความพยายามเบียดอัดยัดคนหรือแย่งผู้โดยสารกันสำหรับกรณีหลัง
และกับในเรื่องของการใช้เงินนั้น รัฐเองก็คงไม่มีเงินงบประมาณอุดหนุนในส่วนนี้ เพราะเพียงต้องมอบสัมปทานให้คนอื่นมาทำแทน ก็เห็นแล้วว่าบริการในส่วนนี้กำลังเกินกำลังจ่ายของรัฐ จึงต้องมอบให้เป็นหน้าที่ของคนอื่น
แต่เรื่องที่น่าเศร้าและทำให้ผมแค้นใจตัวเองก็คือ ผมยังมองไม่เห็นวิธีที่จะสร้างแรงจูงใจโดยไม่ต้องใช้เงินให้เกิดขึ้นได้
แต่ผมก็ยังไม่หมดหวัง ผมยังมีหวังว่าด้วยความคิดที่ไม่หยุดนิ่ง วันหนึ่งผมจะหามันเจอ หรือมีใครสักคนหามันเจอ และได้ทำการผลักดันให้เกิดกันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ผมอยากกราบขอให้ช่วยกันสละเวลา หรือใช้เวลาในยามว่างคิดด้วยกันสักนิด เพราะอย่างน้อยแล้ว แม้หลายๆท่านจะอยู่ในสถานะที่ไม่ต้องพึ่งพาระบบขนส่งมวลชนแล้ว แต่ตราบใดที่ชีวิตยังต้องมีความเกี่ยวข้องกับถนน เราก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการพบเจอ หรือการเฉียดเฉี่ยวเกี่ยวชนก็ตาม ซึ่งหากแก้ไขตรงจุดนี้ได้ เราทุกคนย่อมได้ผลประโยชน์ร่วมกัน
ส่วนในเรื่องของสัญญาใจที่ยิ่งใหญ่กว่าลมปากนั้น คงต้องมีทั้งกับในฝ่ายรัฐและฝ่ายผู้รับสัมปทานจากรัฐ เป็นเรื่องของความจริงใจในการให้บริการ และเห็นแก่สิทธิเสรีภาพในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน มากกว่าจะหมุนวนความคิดอยู่ในเรื่องของเม็ดเงินที่จะได้รับ
-ภาคประชาชน-
ในส่วนของประชาชนนั้น หากต้องการได้รับบริการที่ดี ผมว่าเราคงต้องเลิกกันเสียทีกับวัฒนธรรมแบบบ่นว่ากันปากต่อปาก เพราะทางองค์กรที่ให้บริการนั้นก็ได้เปิดช่องทางในการร้องเรียนไว้ให้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหมายเลขข้างรถ ชื่อของพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร (สองอย่างหลังนี้คงต้องรณรงค์เพิ่มขึ้นในส่วนของรถร่วมบริการ) พร้อมทั้งมีหมายเลขโทรศัพท์ให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในบริการสามารถส่งเสียงไปร้องเรียนได้
ซึ่งถ้ามองถึงช่องทางดังกล่าวแล้ว เราจะเห็นได้ว่า มีลู่ทางในการร้องเรียนเปิดรอให้ได้วิ่งไปอยู่แล้ว ผมไม่มีสถิติการร้องเรียนบริการขนส่งมวลชนอยู่ในมือ จึงไม่อาจรู้ได้ว่าในหนึ่งปี หนึ่งเดือน หรือหนึ่งอาทิตย์นั้นมีการร้องเรียนเรื่องการบริการมากน้อยเพียงใด
หากมีน้อย ทั้งๆที่มีการบ่นแบบปากต่อปากและออกตามสื่ออยู่มากมายกระหึ่มเมืองขนาดนี้ นั่นย่อมหมายความว่ามีคนส่วนหนึ่ง หรืออาจจะส่วนใหญ่ที่เลือกที่จะไม่ทำการร้องเรียนไปตามช่องทางที่ภาครัฐและองค์กรที่ให้บริการจัดสรรไว้ให้ ซึ่งในการเลือกที่จะไม่ทำการร้องเรียนนั้น อาจจะเป็นไปด้วยเหตุผลต่างๆกัน แต่ผมว่า ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ก็น่าจะอนุมานได้ว่าเป็นการละเลยต่อสิทธิเสรีภาพในชีวิตอันพึงมีพึงใดของทั้งตนเอง และประชาชนคนอื่นคนใดที่มีความเกี่ยวข้อง
แต่ผมเชื่อว่า เหตุผลหลักที่ทำให้ไม่มีการร้องเรียนไปตามช่องทางนั้น น่าจะมาจากการที่องค์กรรัฐนั้นไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน คือประชาชนไม่มีความมั่นใจว่าคำร้องของตนนั้นจะเป็นที่ได้รับได้รู้ถึงหูผู้มีอำนาจ จึงนำมาซึ่งความเบื่อหน่ายที่จะทำการร้องเรียนไปในที่สุด
ตรงนี้คงต้องย้อนกลับไปเป็นหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องมีการปฏิบัติบริหารที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนได้ เพราะอย่าลืมว่า มีรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองในส่วนนี้อยู่ (แม้จะถูกฉีกไปแล้ว แต่ผมเชื่อว่ามาตราเหล่านี้คงไม่หายไปจากรัฐธรรมนูญไทยฉบับต่อๆไปแน่ๆ) คือมาตรา 59 และ 61 ของหมวด 3 (สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย) อันมีความตราไว้ดังต่อไปนี้ตามลำดับ
“มาตรา 59 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผล จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ”
“มาตรา 61 บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันสมควร ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
และเรายังมีมาตรา 62 ของหมวด 3 ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นไม้ตายสุดยอดที่ประชาชนจะใช้งัดค้านกับหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีคนใช้ไปแล้ว (ผมคงไม่ได้เข้าใจผิดนะครับ) คือคุณ “ศาสตรา โตอ่อน” หรือ “เมฆบ้า - Crazy Cloud” ที่ออกอาละวาดอยู่ในบล็อกตัวเอง อยู่ช่วงหนึ่ง และตอนนี้ได้กลับมาอีกครั้งแล้ว ซึ่งมาตราดังกล่าวนั้นมีความตราไว้ดังนี้
“มาตรา 62 สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐ ที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้นย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ดังนั้น เราจึงพอจะเห็นกันแล้วว่า สิทธิในการร้องเรียนบริการขององค์กรรัฐของเรานั้นได้รับความคุ้มครองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้
กลับมายังกรณีที่ว่า หากสถิติการร้องเรียนมีสูง
ทีนี้คงต้องมาดูกันแล้วล่ะครับ ว่าหูตาขององค์กรรัฐนั้นยังอยู่ในตำแหน่งที่ถูกควรหรือไม่ หากมันอยู่ที่นาที่ไร่ ก็คงถึงเวลาที่ท่านผู้มีอำนาจในองค์กรจะต้องเอามันกลับมาติดตั้งไว้ในที่เดิม และที่สำคัญก็คือ อย่าลืมติดตั้งวงจรให้มันเชื่อมตรงไปถึงสมองส่วนรับรู้ และกรุณาปิดรูเชื่อมระหว่างหูซ้ายและหูขวา เพื่อไม่ให้เสียงร้องของประชาชนเป็นเพียงเสียงลมให้หูท่านนั้นได้ทวนเล่นด้วยนะครับ
พวกผมมีรัฐธรรมนูญเป็นอาวุธนะครับ...
เอ่อ...แต่รอก่อนนะ
คือผมกำลังเอาสก็อตเทปแปะอยู่…
แต่...ได้ใช้แน่ครับ
มาช่วยกันใช้นะ...
หากจะหวังเพียงให้ภาครัฐเห็นปัญหาแล้วทำการแก้ไข แบบนั้นก็คงไม่ต่างอะไรกับการนั่งรอใครสักคนมาทำการรัฐประหาร BMTA เพื่อฉีก “บัสธรรมนูญ” (อ่านว่า บั๊ด-สะ-ทำ-มะ-นูน) ฉบับเดิมทิ้ง เป็นการนั่งรอเมสไซอาห์ตามรูปวิถีการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ
ดังนั้น ในภาคนี้ ผมจึงขอแยกการแก้ปัญหาออกเป็นหน้าที่ของสองฝ่าย คือทั้งภาครัฐและประชาชน
-ภาครัฐ-
สัญญาเป็นสิ่งสำคัญ...
สัญญาที่ว่านั้นต้องมีทั้งสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Contract) และสัญญาใจที่ยิ่งใหญ่กว่าเพียงลมปาก (Promise)
ดังชื่อที่ว่า “ขนส่งมวลชน” นั้นก็เพียงพอจะบอกให้รู้แล้วว่า บริการขนส่งที่จะจัดทำขึ้นนี้ มีไว้เพื่อทำการขนส่งมวลชน หรือก็คือประชาชนที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองบริหารของรัฐ ดังนั้น รัฐต้องมีการออกแบบสัญญาลายลักษณ์อักษรที่ดี โดยจะต้องมีรากฐานมาจากการเล็งเห็นและพิจารณาอย่างถ้วนถี่แล้วว่า สัญญาที่ออกแบบมานั้น จะต้องสามารถควบคุมกำกับการควบคุมดูแลบริการของผู้รับสัมปทานบริการ ให้เกิดมีซึ่งความเคารพในสิทธิเสรีภาพในชีวิตจิตใจและร่างกายของมวลชน หรือประชาชนที่ใช้บริการดังได้รับความคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญ และเมื่อหนึ่งเมื่อใดเมื่อคู่สัญญา (ผู้รับสัมปทาน) มิได้ปฏิบัติไปตามความในเนื้อหาสัญญานั้น รัฐมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้ทันที
ออกแบบดีที่ว่านั้นก็คือ ตัวสัญญาจะต้องมีความรัดกุม ไม่ปล่อยให้เกิดช่องโหว่ทางกฎหมายใดใดอันจะสามารถทำให้ฝ่ายผู้รับสัมปทานสามารถอาศัยช่องโหว่นั้นมาหาประโยชน์ให้ตัวเองได้ ซึ่งในกรณีนี้นั้นการทำสัญญาแบบปีต่อปีหรือไม่เกินสามปีน่าจะเหมาะสมที่สุด เพราะมีช่วงเวลาถือครองสัมปทานที่สั้น กับทั้งยังทำให้ไม่เกิดการผูกขาด เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเจ้าอื่นได้เสนอความจำนงเข้ามา ทำให้เกิดการแข่งขันกันของฝ่ายที่ต้องการจะได้รับสัมปทาน ซึ่งตรงนี้นั้นจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ ทั้งในแง่ลักษณะการบริการที่ดี และ/หรืออาจจะมีค่าบริการที่ต่ำลง นอกจากนี้ ความต้องการให้ตัวเองได้รับสัมปทานต่อหลังจากหมดสัญญาจะช่วยเป็นตัวบีบ เป็นแรงจูงใจให้ฝ่ายผู้รับสัมปทานมุ่งปฏิบัติตามความในสัญญาได้ อีกทั้งรัฐยังสามารถตรวจสอบพฤติบริการของคู่สัญญาได้อย่างละเอียดว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ และไม่เกิดความหย่อนยานในการตรวจสอบอันเนื่องความยาวนานของกาลเวลา
ซึ่งในเรื่องของการออกแบบสัญญาที่ดีนั้น ผมคิดว่าไม่น่าเกินความสามารถของรัฐในการที่จะหาเนติบริกรฝีมือดีมาช่วยเหลือในส่วนนี้
หากมองในเรื่องของสภาพรถ เป็นไปได้ว่ารูปแบบสัญญาที่ดีดังกล่าวนั้นอาจทำให้ประชาชนต้องรับภาระค่าบริการที่สูงขึ้น แต่ผมเชื่อว่า มันมีวิธีง่ายๆและประหยัดเงินในการที่จะบำรุงรักษาสภาพรถให้อยู่ในสถานะที่มีความปลอดภัยเพียงพอจะรองรับการใช้งานของประชาชน ซึ่งตรงส่วนนี้ คงต้องรบกวนรัฐหรือผู้ที่มีความรู้ในการคิดหาทางออก มิใช่ปล่อยให้ทางผู้รับสัมปทานไปจัดการเอาเอง เพราะผมไม่มั่นใจในความกระหายกินค่าหัวคิวของคนบางกลุ่ม อันอาจนำมาซึ่งรายงานค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพรถที่สูงกว่าเป็นจริง และเป็นเหตุอันอ้างขอผลเป็นการขึ้นค่าบริการได้
ผมพอจะเข้าใจว่า ของบางอย่างนั้นเป็นไปได้ยากหากอยากจะได้ “ถูก” และ “ดี” มาอยู่ในที่เดียวกัน
ดังนั้น แง่ด้านที่ผมอยากจะเน้นจริงๆจึงเป็นเรื่องของจิตสำนึกที่มากกว่าเพียงวินัยมารยาทในการขับรถตามกฎจราจรของคนที่จะมาทำหน้าที่ขับ เป็นจิตสำนึกว่าด้วยเรื่องภาระแห่งพหุชีพอื่นๆที่ตนต้องแบกรับในฐานะคนขับรถโดยสารประจำทาง
อย่างน้อย ถ้าทำให้คนขับมีจิตสำนึกในการขับที่ดีได้ ผมเชื่อว่าเราน่าจะประหยัดค่าถมถาดหลุมด้วยมาตรวัดความเร็วไปได้โขเลยทีเดียว
ซึ่งในส่วนของจิตสำนึกที่ดีนั้น คงต้องรบกวนทางองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้สรรหาและเสริมสร้างแรงจูงใจที่ดี ที่จะชี้ชวนบุคลากรที่มีหน้าที่ขับรถโดยสารประจำทางได้มีจิตสำนึกที่ดี ซึ่งผมไม่อยากให้แรงจูงใจนั้นเป็นไปในเรื่องที่คาบเกี่ยวกับเงิน อาทิเช่นการเพิ่มค่าแรงให้กับพนักงาน หรือเรื่องของการเพิ่มส่วนแบ่งจากค่าโดยสารต่อรอบให้ เพราะอาจส่งผลถึงค่าบริการที่สูงขึ้นสำหรับกรณีแรก อันอาจเป็นปัญหาต่อปากท้องของประชาชนที่ยังต้องทำงานแบบหาเช้ากินค่ำได้ และส่งผลถึงความพยายามเบียดอัดยัดคนหรือแย่งผู้โดยสารกันสำหรับกรณีหลัง
และกับในเรื่องของการใช้เงินนั้น รัฐเองก็คงไม่มีเงินงบประมาณอุดหนุนในส่วนนี้ เพราะเพียงต้องมอบสัมปทานให้คนอื่นมาทำแทน ก็เห็นแล้วว่าบริการในส่วนนี้กำลังเกินกำลังจ่ายของรัฐ จึงต้องมอบให้เป็นหน้าที่ของคนอื่น
แต่เรื่องที่น่าเศร้าและทำให้ผมแค้นใจตัวเองก็คือ ผมยังมองไม่เห็นวิธีที่จะสร้างแรงจูงใจโดยไม่ต้องใช้เงินให้เกิดขึ้นได้
แต่ผมก็ยังไม่หมดหวัง ผมยังมีหวังว่าด้วยความคิดที่ไม่หยุดนิ่ง วันหนึ่งผมจะหามันเจอ หรือมีใครสักคนหามันเจอ และได้ทำการผลักดันให้เกิดกันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ผมอยากกราบขอให้ช่วยกันสละเวลา หรือใช้เวลาในยามว่างคิดด้วยกันสักนิด เพราะอย่างน้อยแล้ว แม้หลายๆท่านจะอยู่ในสถานะที่ไม่ต้องพึ่งพาระบบขนส่งมวลชนแล้ว แต่ตราบใดที่ชีวิตยังต้องมีความเกี่ยวข้องกับถนน เราก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการพบเจอ หรือการเฉียดเฉี่ยวเกี่ยวชนก็ตาม ซึ่งหากแก้ไขตรงจุดนี้ได้ เราทุกคนย่อมได้ผลประโยชน์ร่วมกัน
ส่วนในเรื่องของสัญญาใจที่ยิ่งใหญ่กว่าลมปากนั้น คงต้องมีทั้งกับในฝ่ายรัฐและฝ่ายผู้รับสัมปทานจากรัฐ เป็นเรื่องของความจริงใจในการให้บริการ และเห็นแก่สิทธิเสรีภาพในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน มากกว่าจะหมุนวนความคิดอยู่ในเรื่องของเม็ดเงินที่จะได้รับ
-ภาคประชาชน-
ในส่วนของประชาชนนั้น หากต้องการได้รับบริการที่ดี ผมว่าเราคงต้องเลิกกันเสียทีกับวัฒนธรรมแบบบ่นว่ากันปากต่อปาก เพราะทางองค์กรที่ให้บริการนั้นก็ได้เปิดช่องทางในการร้องเรียนไว้ให้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหมายเลขข้างรถ ชื่อของพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร (สองอย่างหลังนี้คงต้องรณรงค์เพิ่มขึ้นในส่วนของรถร่วมบริการ) พร้อมทั้งมีหมายเลขโทรศัพท์ให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในบริการสามารถส่งเสียงไปร้องเรียนได้
ซึ่งถ้ามองถึงช่องทางดังกล่าวแล้ว เราจะเห็นได้ว่า มีลู่ทางในการร้องเรียนเปิดรอให้ได้วิ่งไปอยู่แล้ว ผมไม่มีสถิติการร้องเรียนบริการขนส่งมวลชนอยู่ในมือ จึงไม่อาจรู้ได้ว่าในหนึ่งปี หนึ่งเดือน หรือหนึ่งอาทิตย์นั้นมีการร้องเรียนเรื่องการบริการมากน้อยเพียงใด
หากมีน้อย ทั้งๆที่มีการบ่นแบบปากต่อปากและออกตามสื่ออยู่มากมายกระหึ่มเมืองขนาดนี้ นั่นย่อมหมายความว่ามีคนส่วนหนึ่ง หรืออาจจะส่วนใหญ่ที่เลือกที่จะไม่ทำการร้องเรียนไปตามช่องทางที่ภาครัฐและองค์กรที่ให้บริการจัดสรรไว้ให้ ซึ่งในการเลือกที่จะไม่ทำการร้องเรียนนั้น อาจจะเป็นไปด้วยเหตุผลต่างๆกัน แต่ผมว่า ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ก็น่าจะอนุมานได้ว่าเป็นการละเลยต่อสิทธิเสรีภาพในชีวิตอันพึงมีพึงใดของทั้งตนเอง และประชาชนคนอื่นคนใดที่มีความเกี่ยวข้อง
แต่ผมเชื่อว่า เหตุผลหลักที่ทำให้ไม่มีการร้องเรียนไปตามช่องทางนั้น น่าจะมาจากการที่องค์กรรัฐนั้นไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน คือประชาชนไม่มีความมั่นใจว่าคำร้องของตนนั้นจะเป็นที่ได้รับได้รู้ถึงหูผู้มีอำนาจ จึงนำมาซึ่งความเบื่อหน่ายที่จะทำการร้องเรียนไปในที่สุด
ตรงนี้คงต้องย้อนกลับไปเป็นหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องมีการปฏิบัติบริหารที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนได้ เพราะอย่าลืมว่า มีรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองในส่วนนี้อยู่ (แม้จะถูกฉีกไปแล้ว แต่ผมเชื่อว่ามาตราเหล่านี้คงไม่หายไปจากรัฐธรรมนูญไทยฉบับต่อๆไปแน่ๆ) คือมาตรา 59 และ 61 ของหมวด 3 (สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย) อันมีความตราไว้ดังต่อไปนี้ตามลำดับ
“มาตรา 59 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผล จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ”
“มาตรา 61 บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันสมควร ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
และเรายังมีมาตรา 62 ของหมวด 3 ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นไม้ตายสุดยอดที่ประชาชนจะใช้งัดค้านกับหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีคนใช้ไปแล้ว (ผมคงไม่ได้เข้าใจผิดนะครับ) คือคุณ “ศาสตรา โตอ่อน” หรือ “เมฆบ้า - Crazy Cloud” ที่ออกอาละวาดอยู่ในบล็อกตัวเอง อยู่ช่วงหนึ่ง และตอนนี้ได้กลับมาอีกครั้งแล้ว ซึ่งมาตราดังกล่าวนั้นมีความตราไว้ดังนี้
“มาตรา 62 สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐ ที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้นย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ดังนั้น เราจึงพอจะเห็นกันแล้วว่า สิทธิในการร้องเรียนบริการขององค์กรรัฐของเรานั้นได้รับความคุ้มครองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้
กลับมายังกรณีที่ว่า หากสถิติการร้องเรียนมีสูง
ทีนี้คงต้องมาดูกันแล้วล่ะครับ ว่าหูตาขององค์กรรัฐนั้นยังอยู่ในตำแหน่งที่ถูกควรหรือไม่ หากมันอยู่ที่นาที่ไร่ ก็คงถึงเวลาที่ท่านผู้มีอำนาจในองค์กรจะต้องเอามันกลับมาติดตั้งไว้ในที่เดิม และที่สำคัญก็คือ อย่าลืมติดตั้งวงจรให้มันเชื่อมตรงไปถึงสมองส่วนรับรู้ และกรุณาปิดรูเชื่อมระหว่างหูซ้ายและหูขวา เพื่อไม่ให้เสียงร้องของประชาชนเป็นเพียงเสียงลมให้หูท่านนั้นได้ทวนเล่นด้วยนะครับ
พวกผมมีรัฐธรรมนูญเป็นอาวุธนะครับ...
เอ่อ...แต่รอก่อนนะ
คือผมกำลังเอาสก็อตเทปแปะอยู่…
แต่...ได้ใช้แน่ครับ
มาช่วยกันใช้นะ...
Comments:
<< Home
ทำให้ ขสมก. เป็นของมวลชนจริง ๆ คือ มวลชนเป็นเจ้าของ เช่น เอาเข้าตลาดหุ้น บริการดีราคาหุ้นดี บริการไม่ดีหุ้นตก ตายบ่อย เสี่ยงมาก เทขาย (ฮา ฮา)
อย่างไรก็ตาม ผมว่าประเด็นที่น่าจะเกี่ยวอย่างยิ่งกับปัญหานี้ คือ สภาพท้องถนน และการจราจรในกรุงเทพ ฯ ด้วยนะครับ
ตราบใดที่การจราจรยังติดขัด ออกจากอู่ "ตรงเวลา" แต่มาติดหนึบที่ไหนนาน ๆ สุดท้ายก็เลยต้อง "ทำเวลา" ในขณะที่ผู้โดยสารจำนวนหนึ่ง (ไม่น้อย หรือ ส่วนใหญ่ และยังไม่เคยประสบความหายนะใด ๆ จากเรื่องพวกนี้) ก็อยากจะไปเร็ว ๆ (ไปไหนไม่รู้ระหว่างที่ทำงาน กับ บ้านเก่า) เรื่องแบบนี้แก้ไงก็ไม่หายดอกกระมัง ?
Post a Comment
อย่างไรก็ตาม ผมว่าประเด็นที่น่าจะเกี่ยวอย่างยิ่งกับปัญหานี้ คือ สภาพท้องถนน และการจราจรในกรุงเทพ ฯ ด้วยนะครับ
ตราบใดที่การจราจรยังติดขัด ออกจากอู่ "ตรงเวลา" แต่มาติดหนึบที่ไหนนาน ๆ สุดท้ายก็เลยต้อง "ทำเวลา" ในขณะที่ผู้โดยสารจำนวนหนึ่ง (ไม่น้อย หรือ ส่วนใหญ่ และยังไม่เคยประสบความหายนะใด ๆ จากเรื่องพวกนี้) ก็อยากจะไปเร็ว ๆ (ไปไหนไม่รู้ระหว่างที่ทำงาน กับ บ้านเก่า) เรื่องแบบนี้แก้ไงก็ไม่หายดอกกระมัง ?
<< Home